วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560

วันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2560

รวมงาน ดรออิ้ง+สีน้ำ ของนักเรียนบ้านศิลป์

ผลงานของน้องๆที่เรียนกับบ้านศิลป์ดาด่า
รวบรวมมาหลายรุ่น ผลงานที่เห็นนี่เปนเพียงส่วนนึงเท่านั้น งานเยอะมากกก

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

อุปกรณ์คอร์ส Advance ทุกสาขา

อุปกรณ์สำหรับติว นิเทศศิลป์  เซรามิก และ ประยุกต์ศิลป์
1.สีโปสเตอร์    เบอร์ 2-3-4-5-7-12-15-18-19-24-25-29-30-31-36-38-43-49-121-122  เขียวเลมอน  
     สีขาว
   ขวดใหญ่หมดได้จะดี จะประหยัดกว่าใช้ขวดเล็ก
2.พู่กันกลมของสง่า หรือ มาสเตอร์อาร์ต  เบอร์ 2-4-8-12
3.นิโต้ ( กระดาษกาวลอกได้ )
4.ปากกาหัวม้าสีดำ
5.ไม้บรรทัดใส 24 นิ้ว
6.ถาดพระ ไว้ใส่สี
7.ผ้าเช็ดสี
อุปกรณ์ทุกอย่างหาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องเขียนทั่วไป 
ยกเว้นถาดพระ มีขายที่ร้านขายพระเครื่องตรงข้ามกับวัดศรีโคมคำหรือมาซื้อที่บ้านดาดาก็ได้

 อุปกรณ์สำหรับติว ตกแต่งภายใน
1.สีน้ำ winsor เบอร์ 074 076 090 098 139 179 231 312 346 398538- 599 609
2.สีไม้คลอรีน 24 สี
3.พู่กันกลม สง่าหรือมาสเตอร์อาร์ต เบอร์ 6-8-12
4.ถาดพระหรือที่ทำน้ำแข็งแบบมีฝาปิด
5.สีโปสเตอร์ สีขาว ขวดเล็ก 1 ขวด
6.ไม้สเกล project
7.ปากกาตัดเส้น picma เบอร์ 0.1 ,0.5
8.เพจวงกลมเล็ก
9.ไม้บรรทัดใส 1 ฟุต
สีน้ำต้องสั่งซื้อจากกรุงเทพ หรือที่เชียงใหม่ 

 อุปกรณ์สำหรับติว ออกแบบผลิตภัณฑ์ ,จิวเวลลี่ ,แฟชั่น

1.โคปิค  เบอร์ C-0 , C-2 , C-4 , C-6 , C-8     เบอร์ W-0 , W-2 ,W-4 , W-6 , W-8
2.สีน้ำ ศิลปากร 1 กล่อง
3.ที่ทำน้ำแข็ง ไว้ใส่สี
4.สีโปสเตอร์ สีขาว ขวดเล็ก
5.สีไม้คลอรีน 24 สี
6.เพจวงกลมเล็ก
7.ปากกาหัวม้าสีดำ
8.ดินสอไขสีขาว
9.ไม้บรรทัดใส 1 ฟุต
10.ปากกาตัดเส้นปิกม่า 0.2
เคิปกระดูกงู อุปกรณ์ช่วยสร้างเส้นโค้ง มีหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีก็สะดวกดี

วันจันทร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2557

ผลงานรุ่นแปด

Mew  ตกแต่งภายใน  ศิลปากร


Jia  ออกแบบแฟชั่น  ศิลปากร



Jerry   ออกแบบสื่อสาร  มศว


วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

น้องตี๋โอมกับผลงานมนุษย์ต่างดาวบุกโลก

สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ตั้งใจจะให้เด็กๆวาดภาพเกี่ยวกับวันอาสาฬหบูชา
แต่น้องตี๋โอมขอวาดภาพตึก ครูเลยให้วาดมนุษย์ต่างดาวบุกโลกซะเลย
ผลงานก็เลยออกมาเป็นแบบนี้ ทีแรกใช้ดินสอเขียนแต่ดูแล้วเส้นสายมั่นใจมาก
เลยเปลี่ยนให้ใช้ปากกาปิ๊กม่าเบอร์ 3 วาดดู
ภาพนี้ใช้เวลาวาด 3 ชั่วโมง ไม่รวมเวลาพัก


วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ทฤษฏีศิลปะฉบับสอบเข้ามหาลัย

ถ้าพูดถึงทฤษฏีที่เกี่ยวกับศิลปะก่อนอื่นเลยก็คงต้องพูดถึงคอมโพสเพราะเป็นหลักที่เราใช้ในการควบคุมผลงานศิลปะที่เราทำนั่นเอง
คอมโพส
COMPOSITION
หลักองค์ประกอบทางศิลปะ
เป็นหลักสำคัญสำหรับผู้สร้างสรรค์ และผู้ศึกษางานศิลปะ เนื่องจากผลงานศิลปะใด ๆ
ก็ตาม ล้วนมีคุณค่าอยู่ 2 ประการ คือ คุณค่าทางด้านรูปทรง และ คุณค่าทางด้าน
เรื่องราวคุณค่าทางด้านรูปทรง เกิดจากการนำเอา องค์ประกอบต่าง ๆ ของ ศิลปะ อัน
ได้แก่ เส้น สี แสงและเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว ฯลฯ มาจัดเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความ
งาม ซึ่งแนวทางในการนำองค์ประกอบต่าง ๆ มาจัดรวมกันนั้นเรียกว่า การจัด
องค์ประกอบศิลป์ (Art Composition) โดยมีหลักการจัดตามที่จะกล่าวต่อไป อีก
คุณค่าหนึ่งของงานศิลปะ คือ คุณค่าทางด้านเนื้อหา เป็นเรื่องราว หรือสาระของผลงานที่
ศิลปินผู้สร้าง สรรค์ต้องการที่จะแสดงออกมา ให้ผู้ชมได้สัมผัส รับรู้โดยอาศัยรูปลักษณะที่
เกิดจากการจัดองค์ประกอบศิลป์นั่นเองหรืออาจกล่าวได้ว่า ศิลปินนำเสนอเนื้อหาเรื่องราว
ผ่านรูปลักษณะที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ
ถ้าองค์ประกอบที่จัดขึ้น ไม่สัมพันธ์กับเนื้อหาเรื่องราวที่นำเสนองานศิลปะนั้นก็จะขาด
คุณค่าทางความงามไป ดังนั้นการจัดองค์ประกอบศิลป์ จึงมีความสำคัญในการ
สร้างสรรค์งานศิลปะเป็นอย่างยิ่งเพราะจะทำให้งานศิลปะทรงคุณค่าทางความงามอย่าง
สมบูรณ์
• การจัดองค์ประกอบของศิลปะ มีหลักที่ควรคำนึง อยู่ 5 ประการ คือ
1 .ความสมดุล หรือ ดุลยภาพ
 หมายถึง น้ำหนักที่เท่ากันของ
องค์ประกอบ ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งในทางศิลปะยังรวมถึงความประสาน
กลมกลืน ความพอเหมาะพอดีของ ส่วนต่าง ๆ ในรูปทรงหนึ่ง หรืองานศิลปะชิ้น
หนึ่ง การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ลงใน งานศิลปกรรมนั้นจะต้องคำนึงถึง
จุดศูนย์ถ่วง ในธรรมชาตินั้น ทุกสิ่งสิ่งที่ทรงตัวอยู่ได้โดยไม่ล้มเพราะมีน้ำหนัก
เฉลี่ยเท่ากันทุกด้าน
ฉะนั้น ในงานศิลปะถ้ามองดูแล้วรู้สึกว่าบางส่วนหนักไป แน่นไป หรือ
เบา บางไปก็จะทำให้ภาพนั้นดูเอนเอียง และเกิดความ รู้สึกไม่สมดุล เป็นการ
บกพร่องทางความงาม ดุลยภาพในงานศิลปะ มี 2 ลักษณะ คือ
• 1.1 ดุลยภาพแบบสมมาตร (Symmetry Balance) หรือ
ความสมดุลแบบซ้ายขวาเหมือนกัน คือ การวางรูปทั้งสองข้างของแกน
สมดุล เป็นการสมดุลแบบธรรมชาติลักษณะแบบนี้ใน ทางศิลปะมีใช้
น้อย ส่วนมากจะใช้ในลวดลายตกแต่ง ในงานสถาปัตยกรรมบางแบบ
หรือ ในงานที่ต้องการดุลยภาพที่นิ่งและมั่นคงจริง ๆเช่นศาสนสถานโรงเรียน ศาลคดีความต่างๆ



• 1.2 ดุลยภาพแบบอสมมาตร (Asymmetry Balance) หรือ
ความสมดุลแบบซ้ายขวาไม่เหมือนกัน มักเป็นการสมดุลที่เกิดจาการ
จัดใหม่ของมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะที่ทางซ้ายและขวาจะไม่เหมือนกันใช้
องค์ประกอบที่ไม่เหมือนกัน แต่มีความสมดุลกัน อาจเป็นความ
สมดุลด้วย น้ำหนักขององค์ประกอบ หรือสมดุลด้วยความรู้สึกก็
ได้ การจัดองค์ประกอบให้เกิดความ สมดุลแบบอสมมาตรอาจทำได้
โดย เลื่อนแกนสมดุลไปทางด้านที่มีน้ำหนักมากว่า หรือ เลื่อนรูปที่มี
น้ำหนักมากว่าเข้าหาแกน จะทำให้เกิดความสมดุลขึ้น หรือใช้หน่วยที่
มีขนาดเล็กแต่มีรูปลักษณะที่น่าสนใจถ่วงดุลกับรูปลักษณะที่มีขนาด
ใหญ่แต่มีรูปแบบธรรมดา





• 2.จังหวะลีลา หมายถึง การเคลื่อนไหวที่เกิดจาการซ้ำกันของ
องค์ประกอบ เป็นการซ้ำที่เป็นระเบียบ จากระเบียบธรรมดาที่มีช่วงห่าง
เท่าๆ กัน มาเป็นระเบียบที่สูงขึ้น ซับซ้อนขึ้นจนถึงขั้นเกิดเป็น
รูปลักษณะของศิลปะ โดยเกิดจาก การซ้ำของหน่วย หรือการสลับกัน
ของหน่วยกับช่องไฟ หรือเกิดจาก การเลื่อนไหลต่อเนื่องกันของเส้น สี
รูปทรง หรือ น้ำหนัก
• รูปแบบๆ หนึ่ง อาจเรียกว่าแม่ลาย การนำแม่ลายมาจัดวางซ้ำ ๆ กัน
ทำให้เกิดจังหวะและถ้าจัดจังหวะให้แตกต่างกันออกไป ด้วยการเว้น
ช่วง หรือสลับช่วง ก็จะเกิดลวดลายที่แตกต่างกันออกไป ได้อย่าง
มากมาย แต่จังหวะของลายเป็นจังหวะอย่างง่าย ๆ ให้ความ รู้สึกเพียง
ผิวเผิน และเบื่อง่าย เนื่องจากขาดความหมาย เป็นการรวมตัวของสิ่งที่
เหมือนกัน แต่ไม่มีความหมายในตัวเอง จังหวะที่น่าสนใจและมีชีวิต
ได้แก่ การเคลื่อนไหวของ คน สัตว์ การเติบโตของพืช การเต้นรำเป็น
การเคลื่อนไหวของโครงสร้างที่ให้ความบันดาลใจในการสร้างรูปทรงที่มี
ความหมาย
• 3.สัดส่วน หมายถึง ความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมระหว่างขนาด
ของ องค์ประกอบที่แตกต่างกัน ทั้งขนาดที่อยู่ในรูปทรงเดียวกันหรือ
ระหว่างรูปทรง และรวมถึงความสัมพันธ์กลมกลืนระหว่างองค์ประกอบ
ทั้งหลายด้วย ซึ่งเป็นความพอเหมาะพอดี ไม่มากไม่น้อย ของ
องค์ประกอบทั้งหลายที่นำมาจัดรวมกัน ความเหมาะสมของสัดส่วน
อาจ พิจารณาจากคุณลักษณะดังต่อไปนี้
• 1.1 สัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน จากรูปลักษณะตามธรรมชาต ของ คน
สัตว์ พืช ซึ่งโดยทั่วไป ถือว่า สัดส่วนตามธรรมชาติ จะมีความงามที่
เหมาะสมที่สุด หรือจากรูปลักษณะที่เป็นการ สร้างสรรค์ของมนุษย์
เช่น Gold section เป็นกฎในการสร้างสรรค์รูปทรงของกรีก ซึ่งถือ
ว่า "ส่วนเล็กสัมพันธ์กับส่วนที่ใหญ่กว่า ส่วนที่ใหญ่กว่าสัมพันธ์กับ
ส่วนรวม" ทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมีสัดส่วนที่สัมพันธ์กับทุกสิ่งอย่าง
ลงตัว
มาตรส่วน 1:1.668

• 1.2 สัดส่วนจากความรู้สึก โดยที่ศิลปะนั้นไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อความงามของ
รูปทรงเพียงอย่างเดียว แต่ยังสร้างขึ้นเพื่อแสดงออกถึง เนื้อหา เรื่องราว
ความรู้สึกด้วย สัดส่วนจะช่วย เน้นอารมณ์ ความรู้สึก ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์
และเรื่องราวที่ศิลปินต้องการ ลักษณะเช่น นี้ ทำให้งานศิลปะของชนชาติต่าง ๆ มี
ลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากมีเรื่องราว อารมณ์ และ ความรู้สึกที่ต้องการ
แสดงออกต่าง ๆ กันไป เช่น กรีก นิยมในความงามตามธรรมชาติเป็นอุดมคติ
เน้นความงามที่เกิดจากการประสานกลมกลืนของรูปทรง จึงแสดงถึงความ
เหมือนจริงตามธรรมชาติ ส่วนศิลปะแอฟริกันดั้งเดิม เน้นที่ความรู้สึกทางวิญญาน
ที่น่ากลัว ดังนั้น
รูปลักษณะจึงมีสัดส่วนที่ผิดแผกแตกต่างไปจากธรรมชาติทั่วไป



• 4. เอกภาพ หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบ
ศิลป์ทั้งด้านรูปลักษณะและด้านเนื้อหาเรื่องราว เป็นการประสานหรือ
จัดระเบียบของส่วนต่าง ๆให้เกิดความเป็น หนึ่งเดียวเพื่อผลรวมอันไม่
อาจแบ่งแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป
การสร้างงานศิลปะ คือ การสร้างเอกภาพขึ้นจากความ
สับสน ความยุ่งเหยิง เป็นการจัดระเบียบ และดุลยภาพ ให้แก่สิ่งที่
ขัดแย้งกันเพื่อให้รวมตัวกันได้ โดยการเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆให้สัมพันธ์
กันเอกภาพของงานศิลปะ มีอยู่ 2 ประการ คือ
• 4.1เอกภาพของการแสดงออก หมายถึง การแสดงออกทีมี
จุดมุ่งหมายเดียว แน่นอน และมีความเรียบง่าย งานชิ้นเดียวจะ
แสดงออกหลายความคิด หลายอารมณ์ไม่ได้ จะทำให้สับสน ขาด
เอกภาพ และการแสดงออกด้วยลักษณะเฉพาตัวของศิลปินแต่ละคน ก็
สามารถทำให้เกิดเอกภาพแก่ผลงานได้


• 4.2. เอกภาพของรูปทรง คือ การรวมตัวกันอย่างมีดุลยภาพ และมี
ระเบียบขององค์ประกอบ ทางศิลปะ เพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงหนึ่ง ที่
สามารถแสดงความคิดเห็นหรืออารมณ์ของศิลปิน ออกได้อย่างชัดเจน
เอกภาพของรูปทรง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อความงามของผลงาน
ศิลปะ เพราะเป็นสิ่งที่ศิลปินใช้เป็นสื่อในการแสดงออกถึง
เรื่องราว ความคิด และอารมณ์ ดังนั้นกฎเกณฑ์ในการสร้างเอกภาพ
ในงานศิลปะเป็นกฎเกณฑ์เดียวกันกับธรรมชาติ ซึ่งมี
อยู่ 2 หัวข้อ คือ
• 1. กฎเกณฑ์ของการขัดแย้ง (Opposition) มีอยู่ 4 ลักษณะ
คือ
1.1 การขัดแย้งขององค์ประกอบทางศิลปะแต่ละชนิด
1.2 การขัดแย้งของขนาด
1.3 การขัดแย้งของทิศทาง
1.4 การขัดแย้งของที่ว่างหรือ จังหวะ
• 2. กฎเกณฑ์ของการประสาน (Transition) คือ การทำให้เกิดความ
กลมกลืน ให้สิ่งต่าง ๆ เข้ากันด้อย่างสนิท เป็นการสร้างเอกภาพจากการ
รวมตัวของสิ่งที่เหมือนกันเข้าด้วยกัน การประสานมีอยู่ 2 วิธี คือ
2.1 การเป็นตัวกลาง (Transition) คือ การทำสิ่งที่ขัดแย้งกันให้
กลมกลืนกัน ด้วยการใช้ตัวกลางเข้าไปประสาน เช่น สีขาว กับสีดำ ซึ่งมีความ
แตกต่าง ขัดแย้งกันสามารถทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีเอกภาพ ด้วยการใช้สีเทา
เข้าไปประสาน ทำให้เกิดความกลมกลืนกัน มากขึ้น
2.2 การซ้ำ(Repetition) คือ การจัดวางหน่วยที่เหมือนกัน
ตั้งแต่2 หน่วยขึ้นไป เป็นการสร้างเอกภาพที่ง่ายที่สุด แต่ก็ทำให้ดูจืดชืด น่าเบื่อ
ที่สุด

• นอกเหนือจากกฎเกณฑ์หลักคือ การขัดแย้งและการประสานแล้ว ยังมีกฎเกณฑ์รองอีก 2 ข้อ
คือ
1. ความเป็นเด่น (Dominance) ซึ่งมี2 ลักษณะ คือ
1.1 ความเป็นเด่นที่เกิดจากการขัดแย้ง ด้วยการเพิ่ม หรือลดความสำคัญ ความ
น่าสนใจในหน่วยใดหน่วยหนึ่งของคู่ที่ขัดแย้งกัน
1.2 ความเป็นเด่นที่เกิดจากการประสาน
2. การเปลี่ยนแปร (Variation) คือ การเพิ่มความขัดแย้งลงในหน่วยที่ซ้ำกัน
เพื่อป้องกัน ความจืดชืด น่าเบื่อ ซึ่งจะช่วยให้มีความน่าสนใจมากขึ้น การเปลี่ยนแปร
มี 4 ลักษณะ คือ
2.1 การปลี่ยนแปรของรูปลักษณะ
2.2 การปลี่ยนแปรของขนาด
2.3 การปลี่ยนแปรของทิศทาง
2.4 การปลี่ยนแปรของจังหวะ
การเปลี่ยนแปรรูปลักษณะจะต้องรักษาคุณลักษณะของการซ้ำไว้ ถ้ารูปมีการ
เปลี่ยน แปรไปมาก การซ้ำก็จะหมดไป กลายเป็นการขัดแย้งเข้ามาแทน และ ถ้าหน่วยหนึ่งมี
การ เปลี่ยนแปรอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างจากหน่วยอื่น ๆ มาก จะกลายเป็นความเป็น
เด่นเป็นการสร้างเอกภาพด้วยความขัดแย้ง




• ขัดแย้งด้วยทิศทาง ขนาด รูปร่าง
• ประสานด้วย ที่ว่างและสี
• สุดท้ายทั้งหมดให้ทำตามความรู้สึก
note: นำหลักการของทัศนธาตุมาจัดวางให้เกิดภาพตามที่ต้องการสื่อ
หลักสำคัญที่สุดของCompostคือ1.สมดุล 2.เอกภาพ 3.จุดเด่น

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

ผลงานลูกศิษย์รุ่น 7





งานเก่ง ตอนนี้ติดสถาปัตย์ภายใน ลาดกระบัง ปี 2556







                                     

                                        งานอาย ตอนนี้ติดจิตรกรรม ศิลปากร ปี 2556










                                             งานเปรม ตอนนี้ ติดฟิล์ม  ลาดกระบัง ปี 2556

                                           

                                                          

งานReproduct ศิลปิน



งานใหม่ ตอนนี้ติดสถาปัตย์ มช. ปี 2556







วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

สีน้ำสำหรับทุกคน

สีน้ำ
ด้วยความชุ่มฉ่ำของน้ำ + กับความโปร่งแสงของเนื้อสี
ทำให้สีน้ำมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่หาไม่ได้ในสีชนิดอื่นๆ
ความสนุกของการระบายสีน้ำนั้นเกิดจากการปล่อยให้น้ำกับสี ผสมไล่กันไปเอง
โดยการควบคุมของเราซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้ดังใจแต่บ่อยครั้งที่สีน้ำผสมกันเองแล้วเกิดเอฟเฟกซ์ใหม่ๆ
โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจแต่กลับส่งผลดีทำให้งานสวยแปลกขึ้นมาได้

วิธีการวาดสีน้ำก็ไม่ยาก หากรู้หลัก ก็จะทำให้การระบายสีน้ำทุกครั้งมีความสุข

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Experience.ประสบการณ์​เคยเปน -อาจารย์พิเศษ คณะสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา​ ปี2552,. 2553