คอมโพส
COMPOSITION
หลักองค์ประกอบทางศิลปะ
เป็นหลักสำคัญสำหรับผู้สร้างสรรค์ และผู้ศึกษางานศิลปะ เนื่องจากผลงานศิลปะใด ๆ
ก็ตาม ล้วนมีคุณค่าอยู่ 2 ประการ คือ คุณค่าทางด้านรูปทรง และ คุณค่าทางด้าน
เรื่องราวคุณค่าทางด้านรูปทรง เกิดจากการนำเอา องค์ประกอบต่าง ๆ ของ ศิลปะ อัน
ได้แก่ เส้น สี แสงและเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว ฯลฯ มาจัดเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความ
งาม ซึ่งแนวทางในการนำองค์ประกอบต่าง ๆ มาจัดรวมกันนั้นเรียกว่า การจัด
องค์ประกอบศิลป์ (Art Composition) โดยมีหลักการจัดตามที่จะกล่าวต่อไป อีก
คุณค่าหนึ่งของงานศิลปะ คือ คุณค่าทางด้านเนื้อหา เป็นเรื่องราว หรือสาระของผลงานที่
ศิลปินผู้สร้าง สรรค์ต้องการที่จะแสดงออกมา ให้ผู้ชมได้สัมผัส รับรู้โดยอาศัยรูปลักษณะที่
เกิดจากการจัดองค์ประกอบศิลป์นั่นเองหรืออาจกล่าวได้ว่า ศิลปินนำเสนอเนื้อหาเรื่องราว
ผ่านรูปลักษณะที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ
ถ้าองค์ประกอบที่จัดขึ้น ไม่สัมพันธ์กับเนื้อหาเรื่องราวที่นำเสนองานศิลปะนั้นก็จะขาด
คุณค่าทางความงามไป ดังนั้นการจัดองค์ประกอบศิลป์ จึงมีความสำคัญในการ
สร้างสรรค์งานศิลปะเป็นอย่างยิ่งเพราะจะทำให้งานศิลปะทรงคุณค่าทางความงามอย่าง
สมบูรณ์
• การจัดองค์ประกอบของศิลปะ มีหลักที่ควรคำนึง อยู่ 5 ประการ คือ
1 .ความสมดุล หรือ ดุลยภาพ
หมายถึง น้ำหนักที่เท่ากันขององค์ประกอบ ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งในทางศิลปะยังรวมถึงความประสาน
กลมกลืน ความพอเหมาะพอดีของ ส่วนต่าง ๆ ในรูปทรงหนึ่ง หรืองานศิลปะชิ้น
หนึ่ง การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ลงใน งานศิลปกรรมนั้นจะต้องคำนึงถึง
จุดศูนย์ถ่วง ในธรรมชาตินั้น ทุกสิ่งสิ่งที่ทรงตัวอยู่ได้โดยไม่ล้มเพราะมีน้ำหนัก
เฉลี่ยเท่ากันทุกด้าน
ฉะนั้น ในงานศิลปะถ้ามองดูแล้วรู้สึกว่าบางส่วนหนักไป แน่นไป หรือ
เบา บางไปก็จะทำให้ภาพนั้นดูเอนเอียง และเกิดความ รู้สึกไม่สมดุล เป็นการ
บกพร่องทางความงาม ดุลยภาพในงานศิลปะ มี 2 ลักษณะ คือ
• 1.1 ดุลยภาพแบบสมมาตร (Symmetry Balance) หรือ
ความสมดุลแบบซ้ายขวาเหมือนกัน คือ การวางรูปทั้งสองข้างของแกน
สมดุล เป็นการสมดุลแบบธรรมชาติลักษณะแบบนี้ใน ทางศิลปะมีใช้
น้อย ส่วนมากจะใช้ในลวดลายตกแต่ง ในงานสถาปัตยกรรมบางแบบ
หรือ ในงานที่ต้องการดุลยภาพที่นิ่งและมั่นคงจริง ๆเช่นศาสนสถานโรงเรียน ศาลคดีความต่างๆ
• 1.2 ดุลยภาพแบบอสมมาตร (Asymmetry Balance) หรือ
ความสมดุลแบบซ้ายขวาไม่เหมือนกัน มักเป็นการสมดุลที่เกิดจาการ
จัดใหม่ของมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะที่ทางซ้ายและขวาจะไม่เหมือนกันใช้
องค์ประกอบที่ไม่เหมือนกัน แต่มีความสมดุลกัน อาจเป็นความ
สมดุลด้วย น้ำหนักขององค์ประกอบ หรือสมดุลด้วยความรู้สึกก็
ได้ การจัดองค์ประกอบให้เกิดความ สมดุลแบบอสมมาตรอาจทำได้
โดย เลื่อนแกนสมดุลไปทางด้านที่มีน้ำหนักมากว่า หรือ เลื่อนรูปที่มี
น้ำหนักมากว่าเข้าหาแกน จะทำให้เกิดความสมดุลขึ้น หรือใช้หน่วยที่
มีขนาดเล็กแต่มีรูปลักษณะที่น่าสนใจถ่วงดุลกับรูปลักษณะที่มีขนาด
ใหญ่แต่มีรูปแบบธรรมดา
• 2.จังหวะลีลา หมายถึง การเคลื่อนไหวที่เกิดจาการซ้ำกันของ
องค์ประกอบ เป็นการซ้ำที่เป็นระเบียบ จากระเบียบธรรมดาที่มีช่วงห่าง
เท่าๆ กัน มาเป็นระเบียบที่สูงขึ้น ซับซ้อนขึ้นจนถึงขั้นเกิดเป็น
รูปลักษณะของศิลปะ โดยเกิดจาก การซ้ำของหน่วย หรือการสลับกัน
ของหน่วยกับช่องไฟ หรือเกิดจาก การเลื่อนไหลต่อเนื่องกันของเส้น สี
รูปทรง หรือ น้ำหนัก
• รูปแบบๆ หนึ่ง อาจเรียกว่าแม่ลาย การนำแม่ลายมาจัดวางซ้ำ ๆ กัน
ทำให้เกิดจังหวะและถ้าจัดจังหวะให้แตกต่างกันออกไป ด้วยการเว้น
ช่วง หรือสลับช่วง ก็จะเกิดลวดลายที่แตกต่างกันออกไป ได้อย่าง
มากมาย แต่จังหวะของลายเป็นจังหวะอย่างง่าย ๆ ให้ความ รู้สึกเพียง
ผิวเผิน และเบื่อง่าย เนื่องจากขาดความหมาย เป็นการรวมตัวของสิ่งที่
เหมือนกัน แต่ไม่มีความหมายในตัวเอง จังหวะที่น่าสนใจและมีชีวิต
ได้แก่ การเคลื่อนไหวของ คน สัตว์ การเติบโตของพืช การเต้นรำเป็น
การเคลื่อนไหวของโครงสร้างที่ให้ความบันดาลใจในการสร้างรูปทรงที่มี
ความหมาย
• 3.สัดส่วน หมายถึง ความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมระหว่างขนาด
ของ องค์ประกอบที่แตกต่างกัน ทั้งขนาดที่อยู่ในรูปทรงเดียวกันหรือ
ระหว่างรูปทรง และรวมถึงความสัมพันธ์กลมกลืนระหว่างองค์ประกอบ
ทั้งหลายด้วย ซึ่งเป็นความพอเหมาะพอดี ไม่มากไม่น้อย ของ
องค์ประกอบทั้งหลายที่นำมาจัดรวมกัน ความเหมาะสมของสัดส่วน
อาจ พิจารณาจากคุณลักษณะดังต่อไปนี้
• 1.1 สัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน จากรูปลักษณะตามธรรมชาต ของ คน
สัตว์ พืช ซึ่งโดยทั่วไป ถือว่า สัดส่วนตามธรรมชาติ จะมีความงามที่
เหมาะสมที่สุด หรือจากรูปลักษณะที่เป็นการ สร้างสรรค์ของมนุษย์
เช่น Gold section เป็นกฎในการสร้างสรรค์รูปทรงของกรีก ซึ่งถือ
ว่า "ส่วนเล็กสัมพันธ์กับส่วนที่ใหญ่กว่า ส่วนที่ใหญ่กว่าสัมพันธ์กับ
ส่วนรวม" ทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมีสัดส่วนที่สัมพันธ์กับทุกสิ่งอย่าง
ลงตัว
มาตรส่วน 1:1.668
รูปทรงเพียงอย่างเดียว แต่ยังสร้างขึ้นเพื่อแสดงออกถึง เนื้อหา เรื่องราว
ความรู้สึกด้วย สัดส่วนจะช่วย เน้นอารมณ์ ความรู้สึก ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์
และเรื่องราวที่ศิลปินต้องการ ลักษณะเช่น นี้ ทำให้งานศิลปะของชนชาติต่าง ๆ มี
ลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากมีเรื่องราว อารมณ์ และ ความรู้สึกที่ต้องการ
แสดงออกต่าง ๆ กันไป เช่น กรีก นิยมในความงามตามธรรมชาติเป็นอุดมคติ
เน้นความงามที่เกิดจากการประสานกลมกลืนของรูปทรง จึงแสดงถึงความ
เหมือนจริงตามธรรมชาติ ส่วนศิลปะแอฟริกันดั้งเดิม เน้นที่ความรู้สึกทางวิญญาน
ที่น่ากลัว ดังนั้น
รูปลักษณะจึงมีสัดส่วนที่ผิดแผกแตกต่างไปจากธรรมชาติทั่วไป
• 4. เอกภาพ หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบ
ศิลป์ทั้งด้านรูปลักษณะและด้านเนื้อหาเรื่องราว เป็นการประสานหรือ
จัดระเบียบของส่วนต่าง ๆให้เกิดความเป็น หนึ่งเดียวเพื่อผลรวมอันไม่
อาจแบ่งแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป
การสร้างงานศิลปะ คือ การสร้างเอกภาพขึ้นจากความ
สับสน ความยุ่งเหยิง เป็นการจัดระเบียบ และดุลยภาพ ให้แก่สิ่งที่
ขัดแย้งกันเพื่อให้รวมตัวกันได้ โดยการเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆให้สัมพันธ์
กันเอกภาพของงานศิลปะ มีอยู่ 2 ประการ คือ
• 4.1เอกภาพของการแสดงออก หมายถึง การแสดงออกทีมี
จุดมุ่งหมายเดียว แน่นอน และมีความเรียบง่าย งานชิ้นเดียวจะ
แสดงออกหลายความคิด หลายอารมณ์ไม่ได้ จะทำให้สับสน ขาด
เอกภาพ และการแสดงออกด้วยลักษณะเฉพาตัวของศิลปินแต่ละคน ก็
สามารถทำให้เกิดเอกภาพแก่ผลงานได้
• 4.2. เอกภาพของรูปทรง คือ การรวมตัวกันอย่างมีดุลยภาพ และมี
ระเบียบขององค์ประกอบ ทางศิลปะ เพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงหนึ่ง ที่
สามารถแสดงความคิดเห็นหรืออารมณ์ของศิลปิน ออกได้อย่างชัดเจน
เอกภาพของรูปทรง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อความงามของผลงาน
ศิลปะ เพราะเป็นสิ่งที่ศิลปินใช้เป็นสื่อในการแสดงออกถึง
เรื่องราว ความคิด และอารมณ์ ดังนั้นกฎเกณฑ์ในการสร้างเอกภาพ
ในงานศิลปะเป็นกฎเกณฑ์เดียวกันกับธรรมชาติ ซึ่งมี
อยู่ 2 หัวข้อ คือ
• 1. กฎเกณฑ์ของการขัดแย้ง (Opposition) มีอยู่ 4 ลักษณะ
คือ
1.1 การขัดแย้งขององค์ประกอบทางศิลปะแต่ละชนิด
1.2 การขัดแย้งของขนาด
1.3 การขัดแย้งของทิศทาง
1.4 การขัดแย้งของที่ว่างหรือ จังหวะ
• 2. กฎเกณฑ์ของการประสาน (Transition) คือ การทำให้เกิดความ
กลมกลืน ให้สิ่งต่าง ๆ เข้ากันด้อย่างสนิท เป็นการสร้างเอกภาพจากการ
รวมตัวของสิ่งที่เหมือนกันเข้าด้วยกัน การประสานมีอยู่ 2 วิธี คือ
2.1 การเป็นตัวกลาง (Transition) คือ การทำสิ่งที่ขัดแย้งกันให้
กลมกลืนกัน ด้วยการใช้ตัวกลางเข้าไปประสาน เช่น สีขาว กับสีดำ ซึ่งมีความ
แตกต่าง ขัดแย้งกันสามารถทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีเอกภาพ ด้วยการใช้สีเทา
เข้าไปประสาน ทำให้เกิดความกลมกลืนกัน มากขึ้น
2.2 การซ้ำ(Repetition) คือ การจัดวางหน่วยที่เหมือนกัน
ตั้งแต่2 หน่วยขึ้นไป เป็นการสร้างเอกภาพที่ง่ายที่สุด แต่ก็ทำให้ดูจืดชืด น่าเบื่อ
ที่สุด
•
• นอกเหนือจากกฎเกณฑ์หลักคือ การขัดแย้งและการประสานแล้ว ยังมีกฎเกณฑ์รองอีก 2 ข้อ
คือ
1. ความเป็นเด่น (Dominance) ซึ่งมี2 ลักษณะ คือ
1.1 ความเป็นเด่นที่เกิดจากการขัดแย้ง ด้วยการเพิ่ม หรือลดความสำคัญ ความ
น่าสนใจในหน่วยใดหน่วยหนึ่งของคู่ที่ขัดแย้งกัน
1.2 ความเป็นเด่นที่เกิดจากการประสาน
2. การเปลี่ยนแปร (Variation) คือ การเพิ่มความขัดแย้งลงในหน่วยที่ซ้ำกัน
เพื่อป้องกัน ความจืดชืด น่าเบื่อ ซึ่งจะช่วยให้มีความน่าสนใจมากขึ้น การเปลี่ยนแปร
มี 4 ลักษณะ คือ
2.1 การปลี่ยนแปรของรูปลักษณะ
2.2 การปลี่ยนแปรของขนาด
2.3 การปลี่ยนแปรของทิศทาง
2.4 การปลี่ยนแปรของจังหวะ
การเปลี่ยนแปรรูปลักษณะจะต้องรักษาคุณลักษณะของการซ้ำไว้ ถ้ารูปมีการ
เปลี่ยน แปรไปมาก การซ้ำก็จะหมดไป กลายเป็นการขัดแย้งเข้ามาแทน และ ถ้าหน่วยหนึ่งมี
การ เปลี่ยนแปรอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างจากหน่วยอื่น ๆ มาก จะกลายเป็นความเป็น
เด่นเป็นการสร้างเอกภาพด้วยความขัดแย้ง
• ขัดแย้งด้วยทิศทาง ขนาด รูปร่าง
• ประสานด้วย ที่ว่างและสี
• สุดท้ายทั้งหมดให้ทำตามความรู้สึก
note: นำหลักการของทัศนธาตุมาจัดวางให้เกิดภาพตามที่ต้องการสื่อ
หลักสำคัญที่สุดของCompostคือ1.สมดุล 2.เอกภาพ 3.จุดเด่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น